เรื่องอยากบอก

เนื่องจากการทำงานที่ไม่สะดวกของ hotmail และ spaceslive นาดจะเปลี่ยนไปใช้ wordpress ในเร็วๆนี้ และจะมาโพสต์บอกอีกทีนะคะ
ถ้าติดตามงานละครของกลุ่ม พระจันทร์เสี้ยวการละคร เชิญแวะชมที่ http://crescentmoontheatre.blogspot.com 
ถ้าค้นหาหรือติดตามผลงานของนาดที่ผ่านมา เชิญแวะ
http://sineenadh.blogspot.com
 
ส่วน blog แบบนี้ somewhere in the moon จะย้ายไปที่ wordpress เร็วๆนี้

หาเรื่อง

จบงานเก่าก็เข้าสู่งานใหม่ กับขึ้นตอนที่ยากที่สุด คือ การหาเรื่อง และกว่าจะมาเป็นเรื่อง พรุ่งนี้จะเป็นการไปดูงานในพื้นที่จริง แต่ครั้งนี้ไปเพียงแค่สังเกตการณ์เท่านั้น ในขั้นตอนนี้ยังไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ได้แต่เปิดรับข้อมูลต่างๆ จึงยิ่งยากว่าจะเล่าเรื่องของตัวละครไหน มีประเด็น รู้ว่าจะบอกอะไรก็ยังไม่พอ ต้องรู้ด้วยว่าจะเล่ายังไง สรุปว่าต้องไปหาเรื่องมาให้ได้ และก็ทำให้มันเป็นเรื่อง
 
 

เตรียมพบกับละครไม่ใหญ่ไม่เล็ก ในประเด็นสิทธิเด็ก ชื่อเรื่อง วาวา (The Rice Child) ประมาณปลายเดือนตุลานี้  
 
 

คือผู้อภิวัฒน์ที่ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

อีกสองรอบสุดท้ายกับละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” ในเวอร์ชั่นนี้ จะแสดงที่มธบ.วันศุกร์นี้สองรอบ ครั้งนี้จัดโดย
 
คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ร่วมกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอละครเวที
คือผู้อภิวัฒน์



วันที่ 27 สิงหาคม 2553  เวลา 15.00 น. และ 18.30 น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์  ชั้น 7 อาคาร ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์บัตรนักศึกษา 50 บาท บุคลากรและบุคคลทั่วไป 100 บาท
จองบัตร และสอบถามเพิ่มเติมที่  คณะศิลปกรรมศาสตร์
โทร. 02 954 7300 ต่อ 680

 

 

 

เสียงกระซิบจากแม่น้ำในงานรวมมิตรร่วมสมัย

ตอนนี้ซ้อมละครวันลัสองเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” ที่จะขึ้นไปแสดงที่คณะมนุษย์ มช. ส่วนอีกเรื่องคือ “เสียงกระซิบจากแม่น้ำ” เรื่องเล่าเกี่ยวกับคนกับสายน้ำ  จะร่วมแสดงในงาน “รวมมิตรร่วมสมัย” ซึ่งจัดโดยสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ลานน้ำพุ สยามพารากอน งานนี้มีตั้งแต่วันที่ 17-21 สิงหาคมนี้ ชมการแสดงดีๆได้ฟรี ตั้งแวลา 18:00 -19:00 น.
 
 
 
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ขอเชิญชมการแสดง
 
“เสียงกระซิบจากแม่น้ำ”
Whisper of the River
 
 
แสดงในงาน รวมมิตรร่วมสมัย ณ สยามพารากอน
ณ ลานน้ำพุ สยามพารากอน ฃ
 
วันที่ 18 สิงหาคม 53
เวลา 18.30 น.
ชมฟรี
(มีบรรยายไทย/อังกฤษ)
 
 
 
“เสียงกระซิบจากแม่น้ำ” เราทำงานนี้ครั้งแรกในโครงการนิทานสายน้ำ ร่วมกับนักศึกษาละครที่มหาวิทยาลัย Miami U.
 
บันทึกเกี่ยวกับการแสดง:
แสดงครั้งแรก ณ Ernst Nature Theatre, Miami University, Ohio, US ปี 2550
แสดงครั้งที่ 2 ในงานเทศกาลละครกรุงเทพ 2550 ณ สวนสันติไชยปราการ
แสดงครั้งที่ 3 ในงานมหกรรมดนตรีสร้างสุข ณ สวนลุมพินี ปี 2551
แสดงครั้งที่ 4 ในงานคอนเสริ์ต “คำขานรับ มด วนิดา” ณ หอประชุใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2551

ละครคือผู้อภิวัฒน์สัญจร

  
 
หลังจากเปิดการแสดงที่ห้องประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ไปแล้ว 6 รอบ เมื่อเดือนมิ.ย. และ ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้ชมเกือบๆจะเต็มทุกรอบ เราได้รับเสียงตอบรับอย่างอบอุ่น คราวนี้พระจันทร์เสี้ยวจะสัญจรไปอีกสามแห่ง ทั้งหมดอีก 4 รอบ มีที่

จังหวัดเชียงใหม่  2 รอบ
วันที่ 21 สิงหาคม 2553 เวลา 19.00 น
วันที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 14.30 น
ณ ห้องประชุม มล. ตุ้ย ชั้นที่ 8 อาคาร HB7
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บัตรราคา 200 บาท (นักเรียน,นักศึกษา 100 บาท)
สอบถามเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ที่
086 728 6828 (คุณกระแต)
081 562 4636 (คุณจั่น)
 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2 รอบ
วันที่ 27 สิงหาคม 2553
เวลา 14.00 และ  18.30 น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
อาคาร 6 ชั้น 7
 
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเร็วๆนี้ที่
http://www.crescentmoontheatre.com
 
  

ผู้หญิงที่อยู่ในใจ

ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในใจตอนนี้ เป็นผู้หญิงสองคนจากคนละซีกโลก คนแรกคือ Nawal El Saadawi ชาวอียิปต์ผู้เขียน The Daughter of Isis กับอีกคน Arundhati Roy ชาวอินเดียผู้เขียน The God of Small Things ชอบหนังสือของเธอทั้งสอง 
 
  
 
เรื่องแรกเป็นอัตชีวประวัติเป็นเรื่องจริงของผู้เขียน ส่วนเล่มที่สองเป็นเรื่องแต่งที่ดูเหมือนว่าน่าจะมาจากเรื่องจริง บางแง่มุมมีความเหมือนกันในความไม่เหมือนกันจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงทุกสังคม คือ ความไม่เป็นธรรม ผ่านสายตาของผู้เขียนที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆที่สะท้อนถึงเรื่องของสังคม และความสัมพันธ์ของผู้คน สิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจคือสำนึกทางสังคมของผู้เขียน ความเจ็บปวด ความรันทดรันทดแต่งดงามและมีพลัง  
 
 ลูกสาวไอซิส ในชื่อภาษาไทย เป็นเรื่องราวของผู้เขียนตั้งแต่วัยเด็กจนกลายเป็นคุณหมอนักกิจกรรมทางสังคม ผู้เรียกร้องสิทธิเพื่อสตรีชาวอียิปต์ ผ่านการต่อสู้ทั้งระดับบุคคลและในระดับสังคม แต่น้ำเสียงและลีลาในการเล่าผ่านสายตาของเด็กหญิงในช่วสงแรก และเป็นการมองย้อนกลับไปในอดีตที่บางครั้งแม้จะมาจากเรื่องจริง แต่การเล่าใช้วิธีการวาดภาพเหนือจริงแทรกอยู่จนทำให้ความเข้มข้นและความเจ็บปวดที่มีความงามด้วยจินตนาการและพลังที่เข้มแข็ง
 
 
 
ส่วนเทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ เป็นนวนิยายที่เล่าเรื่องครอบครัวหนึ่ง ที่มีทั้งเรื่องของเด็ก เรื่องของผู้ใหญ่ เรื่องครอบครัว เรื่องชนชั้น เรื่องสังคม ความอยุติธรรม ความรัก และความเป็นคน เป็นการเล่าเรื่องที่ดูเหมือนจริงผ่านการขยายภาพและความรู้สึกด้วยจินตนาการ จนทำให้รู้สึกถึงความเป็นจริงในความรู้สึก เมื่ออ่านจบแล้วเรารับรู้ได้ถึงความเล็กจ้อยของตัวเรา และรู้สึกถึงความเจ็บปวดของการเป็นคนเล็กๆในสังคม  
 
 

ครึ่งปีแล้ว ทำอะไรลงไปบ้าง

งานแรกของปี ละครเวที “ล่าท้าฝัน” กำกับและดัดแปลงบทให้กับ ม.ศิลปากร ict นักแสดงเป็นนักเรียนการแสดงรุ่นแรกของเราเอง เรื่องนี้แปลและดัดแปลงจากละครสมัยใหม่ของเยอรมัน เรื่อง Creeps ของ Lutz Hubner โดย ปานรัตน กริชชาญชัยร่วมแปล แสดงไปเมื่อเดือนมกราคม
 
  
 
งานต่อมา โครงการอ่านบทละคร “อ่านผู้หญิง” มาอีกแล้วกับการแสดงอ่านบทละคร คราวนี้ชวนเฉพาะนักการละครหญิงสิบคน เลือกวรรณกรรมที่รักเกี่ยวกับผู้หญิงมาอ่านกันในเดือนมีนาคมเดือนของผู้หญิง งานทุกชิ้นในครั้งนี้น่าสนใจด้วยตัวของมันเอง และสะท้อนความเป็นตัวเป็นตนของคนทำชิ้นงานนั้น มีผู้ชมที่เป็นแฟนของงานอ่าน บอกว่าครั้งนี้ดูสงบๆเนือยลง ไม่เหมือนครั้งก่อนมา ในส่วนตัวกลับเห็นว่านี่คือความแตกต่าง และความโดดเด่นในการพูดเรื่องประเด็นผู้หญิงโดยผู้หญิง ที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องที่มีน้ำเสียงที่แตกต่าง และไม่ติดกับกับความน่าจะเป็น 
 
  
 
ในงานนนี้ตัวเองนำเสนองานชิ้นหนึ่ง เลือกเรื่องสั้นของนักเขียนเฟมินิสต์รุ่นแรกๆเรื่อง “ผู้หญิงในห้องสีเหลือง”  The Yellow Wallpaper เขียนโดย ชาร์ลอตต์ เพอร์กิ้น กิลแมน  แปลโดยคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ซึ่งเคยอ่านเมื่อนานมากมาแล้วและยังคงอยู่ในใจเสมอมา เป็นเรื่องเล่าผ่านกระแสสำนึกของหญิงวิกลจริตคนหนึ่งที่ถูกรักและถูกรักษาในทางที่ไม่เหมาะสมกับเธอ
 
เมษายนเดือนแห่งการเรียนรู้ เรามาชวนสมาชิกเก่าและน้องนักศึกษาที่มาฝึกงานกลับเข้าห้องเรียนละคร การแสดง และเปิดอบรมออกแบบแสง ปรับปรุงละครโรงเล็ก เตรียมละครใหญ่ของเราในปีนี้คือ  “คือผู้อภิวัฒน์” หลังจากนั้นเราซ้อมกันสามเดือนโดยไม่รับงานอย่างอื่นยกเว้นงานสอนและงานอบรมละคร เราทำงานกันอย่างหนักท่ามกลางความปั่นป่วนความบาดหมางและความหวาดระแวงกับสถานการณ์บ้านเมือง
 
ปลายเดือนมิถุนายนต่อต้นเดือนกรกฎาคม แสดงละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” ละครที่เป็นเหมือนโลโก้ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร สิบปีก็กลับมาอีกครั้ง ครั้งนี้กลับมาในวาระครบรอบ 110 ปี อ.ปรีดี พนมยงค์ จากที่เคยดู เคยแสดง มาครั้งนี้เป็นผู้กำกับ และผลออกมาเป็นที่น่าภาคภูมิใจกับสารสาระกระบวนการการทำงานปฏิสัมพันธ์ของคนงานและเสียงตอบรับที่ราได้รับ ตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 
http://crescentmoontheatre.blogspot.com/2010/07/blog-post.html
 
เดือนหน้าสิงหาคม พระจันทร์เสี้ยวการละครเตรียมตัวทัวร์ “คือผู้อภิวัฒน์” อีกห้ารอบ
 

หายไปนาน

จากเมษาถึงกรกฎาหายไปนานกับการมีสติสมาธิอยู่กับละครคือผู้อภิวัฒน์ เผลอไปแป๊บนึงก็แสดงเสร็จไปแล้ว มีอะไรหลายอย่างที่อยากเขียนถึง แต่ยังไม่เปิดเผย จะพยายามขุดมันออกมา